เครื่องแยกพลาสติก นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย
Source - บ้านเมือง (Th) Tuesday, February 01, 2005 09:14
20192 XTHAI XEDU XLOCAL V%PAPERL P%BMND
กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--บ้านเมือง ก่อนที่จะมีการนำมารีไซเคิล จะทำให้ได้พลาสติก
Source - บ้านเมือง (Th) Tuesday, February 01, 2005 09:14
20192 XTHAI XEDU XLOCAL V%PAPERL P%BMND
กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--บ้านเมือง ก่อนที่จะมีการนำมารีไซเคิล จะทำให้ได้พลาสติก
เครื่องแยกเศษพลาสติก สิ่งประดิษฐ์ชนะเลิศนวัตกรรมเชิงธุรกิจ โครงการนวัตกรรมแห่งประเทศไทย สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงานของนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในประดิษฐกรรมจากความคิดสร้างสรรค์อันน่าภาคภูมิใจ ของเยาวชนไทยที่ช่วยประหยัดพลังงาน ไม่ก่อมลพิษและมีประสิทธิภาพไม่แพ้ประดิษฐกรรมที่นำเข้าจากต่างประเทศ นายจุฬพงษ์ พานิชเกรียงไกร นิสิตจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางภาพถ่ายและเทคโนโลยีทางการพิมพ์ และนายสธน กิตนาภรณ์ นิสิตจากภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยถึงแนวความคิดในการประดิษฐ์เครื่องแยกเศษพลาสติกว่า มีจุดเริ่มต้นจากการตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ขยะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งปัญหาขยะพลาสติก ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีปริมาณสูงถึง 150 ตันในแต่ละวัน การรีไซเคิลเศษพลาสติก หากเป็นพลาสติกที่มีการผสมจะทำให้เศษพลาสติกที่มีคุณภาพและราคาต่ำ แต่หากนำขยะพลาสติกมาแยกประเภทที่มีคุณภาพและราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ยังลดการนำเข้าเศษพลาสติกที่ทำการแยกแล้วจากต่างประเทศ ในปัจจุบันการแยกขยะที่ทำอยู่ในบ้านเรายังใช้แรงงานคนและไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นพลาสติกชนิดใด เครื่องแยกเศษพลาสติกที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้จึงสามารถลดปัญหาในส่วนนี้ลงไป ทั้งสองได้ส่งผลงานสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมประกวดในโครงการนวัตกรรมแห่งประเทศไทย โดยผสานแนวคิดที่แตกต่าง และสร้างสรรคือออกมาเป็นผลงานนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มพูนมูลค่าให้ขยะพลาสติก กลไก หลักในการทำงานของเครื่องแยกเศษพลาสติกอาศัยพื้นฐานของความหนาแน่นของสารละลาย ซึ่งทำให้พลาสติกเกิดการจมและลอยไม่เท่ากัน จากการประกวดรอบคัดเลือกระดับภาคสู่การประกวดระดับประเทศ ซึ่งได้ปรับปรุงพัฒนาเครื่องแยกเศษพลาสติกให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานเพิ่มขึ้น ทั้งสองรู้สึกดีใจจนหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งที่ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ทั้งสองทุ่มเทคิดค้นประสบความสำเร็จคว้ารางวัลชนะเลิศมาครอง
เครื่องแยกเศษพลาสติกดังกล่าวมีขนาด 60X40 เซนติเมตร มีจุดเด่นคือสามารถนำไปใช้ได้จริงในองค์กรธุรกิจ ช่วยประหยัดพลังงาน ไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถทำการแยกเศษพลาสติกได้อย่างน้อยวันละ 20 ตันต่อวัน ใช้ง่ายและทนทาน กลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มธุรกิจแยกขยะ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก
ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการเรื่องการจดสิทธิบัตร สำหรับอุปสรรคในการทำงานเป็นเรื่องของเทคนิคของเครื่องแยกเศษพลาสติก ซึ่งได้รับคำแนะนำในการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจาก ผศ.ดร.สงบทิพย์ พงศ์สถาบดี ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ นอกจากนี้ยังมีอุปสรรคในเรื่องของระยะเวลาในการทำงานของนิสิตทั้งสองที่มีเวลาว่างไม่ตรงกันเนื่องจากเรียนคนละภาควิชา นวัตกรรมเครื่องแยกเศษพลาสติกนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของผลงานที่น่าชมเชย ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสู่การพัฒนานวัตกรรมอื่นๆ ต่อไป ในอนาคตนิสิตทั้งสองมีโครงการที่จะประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศส่งเข้าประกวด พร้อมกันนี้ยังทิ้งท้ายให้แง่คิดแก่รุ่นน้องว่า ในการทำงานต้องตั้งใจและลงมือทำอย่างจริงจังเพื่อให้ผลงานออกมาดีที่สุด ไม่ว่าจะทำสิ่งใดต้องไม่กระทบกระเทือนการเรียน ไม่ยอมแพ้จนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้าย หากเจออุปสรรค ทางออกของปัญหาไม่ได้มีแค่ทางเดียว อย่ามองข้ามความคิดเริ่มต้น เมื่อมีโอกาสควรลองหาประสบการณ์ เพิ่มทักษะที่สามารถหาได้นอกตำราเรียน และที่สำคัญจงเชื่อในศักยภาพของตนเอง--จบ--
เหตุผลที่ผมสนใจนวัตกรรมนี้ เพราะว่าเครื่องแยกเศษพลาสติกนี้จะสามารถช่วยโลกของเราได้ในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถนำเอาพลาสติกมารีไซเคิลได้ และช่วยลดปริมาณการนำเข้าของพลาสติกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น